ประวัติ ของ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  • พ.ศ. 2509 เริ่มจัดการศึกษาเภสัชศาสตร์ ในฐานะโรงเรียนเภสัชศาสตร์ สังกัดสำนักงานคณบดีคณะแพทยศาสตร์ เป็นสถานศึกษาสาขาเภสัชศาสตร์ แห่งแรกในภูมิภาค และเป็นแหล่งที่สองในประเทศไทย มีนักศึกษารุ่นแรกจำนวน 10 คน
  • พ.ศ. 2511 เปลี่ยนเป็นภาควิชาเภสัชศาสตร์ สังกัดคณะแพทยศาสตร์
  • พ.ศ. 2512 บัณฑิตเภสัชศาสตร์ สำเร็จการศึกษารุ่นแรก จำนวน 9 คน
  • พ.ศ. 2519 ปรับปรุงหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิตครั้งแรก
  • พ.ศ. 2520 ได้ย้ายที่ทำการมาดำเนินการ ณ สถานที่ปัจจุบัน บนถนนสุเทพ
  • พ.ศ. 2525 เปิดสอนหลักสูตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชเวท
  • พ.ศ. 2530 เปิดสอนหลักสูตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเภสัชกรรม
  • พ.ศ. 2531 ปรับปรุงการบริหารเป็น 6 ภาควิชาใหม่ ได้แก่ ภาควิชาเภสัชเคมี ภาควิชาเภสัชเวท ภาควิชาเภสัชชุมชน ภาควิชาเภสัชกิจ ภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม และภาควิชาชีวเภสัชกรรม
  • พ.ศ. 2533 เปิดสอนหลักสูตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาร่วมกับคณะอื่นในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในสาขาสาธารณสุข ใช้หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิตใหม่ ซึ่งได้รับการปรับปรุงครั้งที่ 2 ตั้งแต่ พ.ศ. 2526
  • พ.ศ. 2535 เปิดสอนหลักสูตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชเคมี และวิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม
  • พ.ศ. 2539 เปิดสอนหลักสูตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิกร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์อื่น ๆ ในส่วนภูมิภาคอีก 3 มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2540 เปิดสอนหลักสูตรมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพร่วมกับคณะอื่นในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พ.ศ. 2541 ใช้หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต ซึ่งได้รับการปรับปรุง ครั้งที่ 3 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2539 เป็นหลักสูตรกึ่งเฉพาะทาง 2 แผน ได้แก่ แผนวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม และแผนเภสัชกรรมปฏิบัติ
  • พ.ศ. 2542 เปิดสอนหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ ที่คณะเภสัชศาสตร์รับผิดชอบโดยตรงคณะเดียว ที่มุ่งเน้นการวิจัยและการประยุกต์การใช้ความรู้ทางเภสัชศาสตร์ทุกแขนงร่วมกัน และเปิดสอนหลักสูตรมหาบัณฑิตนานาชาติสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพอื่น ๆ ได้ปรับปรุงการบริหาร วิชาการ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรใหม่เป็น 2 สายวิชา ซึ่งมีฐานะเทียบเท่าภาควิชาได้แก่สายวิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม และสายวิชาบริบาลเภสัชกรรม
  • พ.ศ. 2544 เปิดสอนหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์(หลักสูตรนานาชาติ) และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม
  • พ.ศ. 2547 ใช้หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต ซึ่งได้รับการปรับปรุงครั้งที่ 4 ในปีการศึกษา 2546 โดยได้ปรับปรุง เนื้อหากระบวนวิชาและเพิ่มกระบวนวิชาในเชิงบูรณาการองค์ความรู้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งปรับเนื้อหา กระบวนวิชาให้ทันสมัย สอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนในสภาวการณ์ปัจจุบันและสอดคล้องกับเกณฑ์ มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมของสภาเภสัชกรรม พ.ศ. 2545,เปิดสอนหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรม (หลักสูตร 6 ปี)และเปิดสอนโครงการการผลิตเภสัชศาสตรบัณฑิต ภาคพิเศษ รับนักศึกษารุ่นแรกจำนวน 60 คน
  • พ.ศ. 2549 เปิดสอนโครงการผลิตเภสัชกรเพื่อร้านยาคุณภาพ รับนักศึกษารุ่นแรกจำนวน 5 คน
  • พ.ศ. 2550 ใช้หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต ซึ่งได้รับการปรับปรุงครั้งที่ 5 ในปีการศึกษา 2549 โดยได้ปรับ หลักสูตรให้ทันสมัยและตรงตามความต้องการของตลาดมากขึ้น โดยปรับแผนการศึกษาจากเดิม 2 แผน เป็น 4 แผน โดยเพิ่มแผน 3 : วิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง และแผน 4 : บริบาลเภสัชกรรม (Sandwich Program ร่วมกับ Curtin University of Technology) และเปิดสอนหลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการเภสัชกรรม ทั้งหลักสูตรภาคปกติ และภาคพิเศษ
  • พ.ศ. 2551 ปรับปรุงหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2550 ในส่วนหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป และกระบวนวิชา สำหรับระบบสหกิจศึกษา ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น เป็นหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2552
  • พ.ศ. 2552 เปิดสอนหลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต พ.ศ. 2552 และหลักสูตร เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก พ.ศ. 2552
  • พ.ศ. 2553 เปิดสอนหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2553 (หลักสูตร 6 ปี) เป็นหลักสูตรสำหรับนักศึกษา ระดับปริญญาตรีที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2553 ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อให้มีความสอดคล้องกับข้อ กำหนดของสภาเภสัชกรรมตามที่กำหนดสำหรับการสอบใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม[2]

ปัจจุบันคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ทำการยุบรวมภาควิชาจาก 6 ภาควิชา เป็น 2 ภาควิชาคือ ภาควิชาบริบาลเภสัชกรรม และภาควิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม

ใกล้เคียง

คณะเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่